เรื่องเล่าจากอดีตถึงปัจจุบัน

ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยนอก

1. ออกแบบตามกระบวนงาน (ใช้เมื่อ 2546 - ปัจจุบัน)
2. ข้อดี   (เก็บแฟ้มได้เร็วมาก   เร็วจนเวชสถิติไม่เจอแฟ้ม  ให้รหัสก็ไม่ได้)
3. ข้อเสีย
a. Coder  ไม่มีโอกาสพบเวชระเบียน (คาดหวังการลงรหัสที่ครบถ้วนจากผู้ให้บริการ)
b. เวชระเบียนถูกรีบเร่งจัดเก็บในช่วงเวรเช้า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับพนักงานเวรบ่าย
c. ไม่มีสำเนาเวชระเบียน  เพื่อลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกทำให้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลย้อนหลัง








  • เริ่มปี   2537  จับพลัดจับพลู  ไปเข้ามาดูระบบเวชระเบียน(คอมพิวเตอร์)ให้กับโรงพยาบาล...ตอนนั้นผมอยู่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  ไปได้ยินข่าวว่ามีระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้  Foxbase  เขียนสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี   เดินทางไปขอแกมบังคับว่าให้ฟรีจากพี่พยาบาลที่เขียน  ร่วมคณะ 8 คนอัดไปกับรถตู้โรงพยาบาล(ปัจจุบันฮ้างและจอมรอจำหน่ายแล้ว)  ไปสองวัน  หนึ่งคืนกลับมาใช้งานได้ด้วย.. Run  ด้วย Pentium286  Ram 128 KB...
  • ถัดมาอีก 3 ปี พ.ศ. 2540 กับการถูลู่ถูกัง  จัดการ Bug  ของโปรแกรมก็เปลี่ยนมาเป็น STAT290  ได้มาจากชมรมเวชสถิติแห่งประเทศไทย  ใช้งานแบบ Stand Alone  รองรับปริมาณงาน OPD visit  200 Caseต่อวันยัง....เอาอยู่
  • พ.ศ. 2546  เอาไม่อยู่ครับ สปสช.จะเอาข้อมูลดิจิตอล (ตอนนั้นเน้น Document เป็นหลัก) เลยอัพเกรดตนเองมาใช้ Server ...ราคาเกือบสองแสนกับข้อมูลเท่าเดิม  ผู้ใช้งานประมาณ  5 Userเพื่อให้ข้อมูลส่ง สปสช.  มันเอาอยู่
  • พ.ศ. 2548  เอาไม่อยู่ครับ  ขอใช้ Software ของ รพศ.ขอนแก่น  ใช้บริการพี่หนึ่ง  Superpck ชื่อนี้จริงๆมาปรับเป็นระบบ  Ezhosp  ใช้มานานเกือบ 5 ปีจนถึงปี  2552  และแล้ว  
  • วันที่  2  มกราคม  2552 Server  ที่รันระบบ Ezhosp  เดี้ยง  ขุนไม่ขึ้นสุดท้ายถูกจับยัด HOSxP  โดยจำเป็น  ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา...โชคดีเหลือเกินที่ทีมเรา 3  คนไปเรียนรู้และลองเล่น HOSxP  มาร่วมปี  อบรมเจ้าหน้าที่เล่นๆ  ทุกฝ่ายทุกงาน  


วันนั้นเป็นต้นมา

  • มกราคม - มีนาคม 2552   เริ่มที่ระบบงานห้องบัตรและเวชระเบียน
  • เมษายน 2552                  ระบบห้องยาเริ่มขอเข้ามาใช้แบบไม่เต็มที่ใช้งานมา  1  ปี   ห้องยาเริ่มใช้งานแทนระบบเดิม (ของฟรีจาก Detail ยา รู้สึกเป็นของวชิระภูเก็ต-กราบขออภัยด้วยหากพาดพิง)
  • มกราคม  2553                 ห้องตรวจโรค - ห้องฉุกเฉิน - ผู้ป่วยใน - ชันสูตร - ผู้ป่วยใน(พิมพ์เอกสารเฉยๆ ปัจจุบันก็เฉยๆ)
  • พฤศจิกายน  2553            ห้องฟันเริ่มเข้ามา - ห้องคลอดเริ่มเข้ามาใช้บ้าง
  • กุมภาพันธ์  2555              ห้องเอกซเรย์มาอีกคร๊าบ
  • 22  พฤษภาคม  2555       เริ่มนวัตกรรมใหม่โดยนำเอาความสามารถของเครื่องสแกนเอกสารความเร็วสูง  มาใช้ในการให้บริการแฟ้มเอกสารแบบ  Online  พะนะ
  • พฤษภาคม 2556              ห้องคลอดมาแบบเต็มรูปแบบ
  • 1 มิถุนายน  2557             ห้องการเงินถูกบังคับให้ใช้ระบบออกใบเสร็จรับเงิน  หลังจากทีม IM  เข็นหลายรอบไม่ไหวต้องยืมมือทีมการเงิน สสจ.เลยและทีม CFO  เขต 8 มาบังคับถึงเริ่มทำ (สาเหตุไม่ทำเพราะ  ... ยาก  ไม่รู้เรื่อง  ไม่เป็น  555)

...ปัจจุบันมีการใช้งานระบบสแกนเอกสารในทุกหน่วยบริการแล้ว  
....ณ  ปัจจุบันคงเหลือ     การใช้งานระบบ HOSxP  เต็มประสิทธิภาพยังขาดอีกเยอะ  เช่น
                                     

  • ผู้ป่วยใน  -  แทบไม่ได้ใช้งาน  ใช้แทนเครื่องพิมพ์เอกสารเฉยก็ว่าได้
  • ER          - ใช้งานเยอะแล้วเหลือการนำข้อมูลมาใช้และยังมีงานซ้ำซ้อนกับ IS
  • LR          - เช่นกันเหลือการนำมาใช้
  • OPD       - เหลืออีกในส่วน NCD และการนำข้อมูลมาใช้
  • ห้องยา    - ใช้เยอะแล้ว  เหลือประสานกับผู้ป่วยในเรื่องการลดภาระงานและลดความผิดพลาดจาก  Human  Error
  • ห้องชันสูตร - เอกซเรย์    เหลือการนำข้อมูลมาใช้
  • ทันตกรรม    - เหลือเรื่องการนำข้อมูลมาใช้
  • กายภาพบำบัด - แพทย์แผนไทย - เหลือการนำข้อมูลมาใช้
  • ห้องบัตร  -   เหลือการนำข้อมูลภาพรวมให้บุคคล / ฝ่าย / งานเอาไปใช้ต่อ
  • PCU  - เหลืออีกบานตะไท




1 ความคิดเห็น: