วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ช่วยกันแน๊

   18  กันยายน  2555   14.00 น.

        ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่ทุกท่านช่วยกันบันทึกข้อมูลตัวชี้วัดโรงพยาบาลด้วยนะครับตามลิงค์นี้
ตัวชี้วัดระดับโรงพยาบาล
เป็นตาปวดหัวแท้เด้อ

ต่อจากนี้พูดคุยเรื่องการไปดูงานที่ภูหลวง .... ฟังแล้วเหนื่อย   24  ตุลาคม 2555  อาจารย์มาตรวจประเมินจาก รพ.สมเด็จเจ้าพระยา   ประเด็นที่น่าจะนำเสนอแกมถูกบังคับ

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

วัดสวยๆที่นาแห้ว

พระประธานภายในอุโบสถ
    ปลายเดือนพฤษภาคม 2554    ได้มีโอกาสไปเยือนนาแห้วอีกครั้งหนึ่งหลังจากไม่ได้ไปเกือบ 3  ปี  คราวนี้ไปไกลจนเกือบสุดชายแดน  บ้านนาเจริญ   เดิมชื่อนาซาก  ชื่อบ้านไม่น่าพิศมัยเลยเปลี่ยน  ทราบมาว่าบ้านร่มเกล้า (สมรภูมิที่คนไทยไม่เคยลืม) อยู่ต่อไปอีกราว 7  กิโลเมตร .... ตัดสินใจอยู่นานก็เลยไม่ไปเยี่ยมดีกว่า  ขากลับออกมาหากไม่คิดอะไรมากเส้นทางดูน่าสนใจพอสมควร  ยังคงธรรมชาติอยู่บ้างถึงแม้จะโดนอารยะเข้าไปกล้ำกรายมากว่า 30 ปี
    เดินทางไปนาแห้วหลายรอบไม่เคยรู้ว่ามีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย  หนึ่งในนั้นคือ  อุโบสถไม้สัก   เก่าแก่มากน่าจะราวสมัยปลายกรุงสุโขทัย  ทราบว่าเดิมในทุกวันพระใหญ่  ชาวบ้านจะมารวมตัวที่วัด  ทำบุญ  ทำทาน  จนเป็นกิจวัตร  มาเลือนหายในช่วงต้มยำกุ้งบ้านเรานี่เอง  กระเทือนไปหมดทุกคนอยากได้ยินคำเดียว "เงิน"  ...เอาหละหมดเรื่องนินทาอดีต  อยากให้เห็นวัดและอุโบสถไม้หนึ่งในสามหลัง  คือที่บ้านนาพึง   บ้านแสงภา(ที่ที่ไปแวะไหว้)แล้วก็ที่ฝั่งลาว(ตรงข้ามบ้านเหมืองแพร่)

เล่าเรื่องซุ้มหอพระโรงพยาบาลภูกระดึง

      ย้อนหลังไปเมื่อ 12  ปีที่แล้วโรงพยาบาลภูกระดึงได้รับบริจาคสร้างอาคารสกลมหาสังฆปรินายก  ๑๖  มาถึงวันนี้ครบโหลพอดี  เริ่มมีสิ่งก่อสร้างมาให้เยอะแล้วอาทิเช่น  ลิฟต์ตัวแรงของอำเภอภูกระดึง  ครุภัณฑ์การแพทย์อีกหลายรายการราคาร่วมสองล้าน (เวอร์ซะไม่มี)  หอพระ(เดิมเราเรียกติดปากว่าเป็น มณฑป)
      มาถึงเรื่องหอพระ  หลวงพ่อดำ (เจ้าอาวาสวัดป่าเสี้ยวใต้  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย)  ท่านได้มาช่วยบูรณะ  ปรับปรุง  บอกบุญและอื่นๆอีกสารพัด  ทำให้โรงพยาบาลได้อานิสงค์จากการที่ท่านมาในครั้งนี้มาพอสมควร  นอกเรื่องอีกแล้ว  เล่าเรืองหอพระต่อ... ท่านจึงได้ตั้งใจ  (ท่านว่าอย่างนั้น)  ว่าจะสร้างถวายสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  ในวาระครบ  100  ปี  วันที่  3  ตุลาคม 2556  .... วันหน้าจะเอาเรื่องที่วัดท่านมาเล่าสู่กันฟัง
สร้างนั่งร้านเพื่อทาสีอาคารและติดชื่ออาคารสกลมหาสังฆปรินายก  ๑๖

ปลูกพืชเสริมสวนปาล์ม

1  กันยายน 2555  หลังจากฝนเริ่มตกติดต่อกันนานพอสมควร  ก็ได้ฤกษ์ปลูกต้นไม้เสริมอาทิเช่น  กระท้อน  มะม่วง  มะพร้าว  ผักหวานป่า  ต้นไม้สารพัดอย่างละต้นสองต้นพอเป็นกษัย
มะม่วง 3 ฤดู

มะม่วงอีกต้น


เรื่องของปาล์มที่สวนผมครับ

เรื่มเมื่อ 3 เดือนที่แล้วลงทุนครั้งแรกในชีวิตกับการเกษตรเชิงเดี่ยว  พลังงานทางเลือกได้ข้อมูลจากเพื่อนที่ทำงานด้วยกันแล้วจึงตัดสินใจเริ่มต้นทำการเกษตรเชิงเดี่ยวทันที
12  กุมภาพันธ์  2555  เริ่มจากขุดสระฟรี   แต่เสียดิน  555


ไร่ยูคาลิปตัสที่โดนโค่นออกโดย   รถไถ

รอยไถ...ติดหล่มครับ

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันแรกลิฟต์ก็เอาเรื่องแล้ว

10 กรกฏาคม 2555...
        ได้รับข้อเสนอแนะและคำแนะนำสำหรับลิฟต์ติดหรือค้าง  สำหรับลิฟต์ตัวแรกของอำเภอภูกระดึงหรือตัวแรกในโรงพยาบาลชุชมชนจังหวัดเลยก็ว่าได้  โม้ได้อีกนาน...
        วันแรกหลังจากตรวจรับไม่ถึง 4 ชั่วโมง  ควอเตอร์แรกก็เอาซะแล้ว....."หัวหน้า  ลิฟต์คือบ่ไปบ่มา   ประตูคือค้างซื่อๆ"  เอาละซิครับ...

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ลิฟต์ตัวแรกของอำเภอภูกระดึง

10  กรกฎาคม 2555  เวลา 10.00 น.
              คณะกรรมการรับมอบลิฟต์จากคำสั่งจังหวัดเลยร่วม 10 ชีวิต  ทำการตรวจรับจากตัวแทนผู้บริจาคและทีมจากฮิตาชิ  รวมถึงทดสอบการใช้งาน  ซักถามปัญหาทางเทคนิค  การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นสำหรับโรงพยาบาลในการแก้ปัญหาเรื่องลิฟต์ติดหรือค้าง
ข้อปฏิบัติจะนำเสนออีกครั้ง
................................

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บวงสรวงก่อสร้างมณฑป 5 มิย 55


นายอำเภอภูกระดึงเป็นประธานพิธีบวงสรวง


     แปดโมงครึ่งวันนี้  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลหลายๆคนมาตาม "หัวหน้าไม่รู้พระมาจากไหนมาทำพิธีบวงสรวงที่หน้าโรงพยาบาล"  เอาละซิครับ
     สักครู่ก็มีโทรศัพธ์มาตามอีกหลายรอบ  ทั้งจากหมอมิ้งและก็โจ  "มาแม๊"  โอเคถ้างั้นไปกัน  ที่หน้ามณฑปก็เลยถึงบางอ้อ   พบว่าเป็นหลวงพ่อดำ  เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านเสี้ยวใต้  อ.เมือง  เลขาฯพระครูสท้าน   เฮ้อ  โล่งอกนึกว่าใคร

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สแกนเวชระเบียนผู้ป่วยนอกฉบับทำเอง

Update 7 มิถุนายน 2555

      นับถึงวันนี้ Browser  จัดการเรียบร้อยแล้วแสดงผลตาม Visit number การแสดงผลจัดแสดงตามวันที่มารับบริการเชื่อมที่ visit number ทำให้ดูคล้าย EMR แต่เป็นเอกสารที่ถูกสแกนมาในรูปแบบของ Jpeg file ในส่วนของการจัดการที่ตามมาคือ เก็บ Log file ของการเข้าชมตามรหัสผู้ใช้งาน HosxP   ยังไม่ได้กำหนดสิทธิการเข้าดู
...............................



วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผู้ประกันตนมาตรา 40 โวยวาย

      
   เที่ยงวันนี้ผมได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่การเงิน  ห้อง 127  "พี่มีผู้ประกันตน รถล้มมาใช้ได้หรือไม่"  "ใช้ได้  เพราะเขาส่งเงินสมทบเพราะฉะนั้นสิทธิเรื่องรักษาพยาบาลจะครอบคุลมเรื่อง พรบ.ด้วย" 
         ไม่นานนักก็ได้ยินเสียงโทรศัพท์มาอีก  ""มันไม่ใช้พี่...เป็นประกันสังคมส่งเงินสมทบ 1,200  บาทต่อปีมันมีด้วยหรือพี่"  อ้าวสงสัยเป็นมาตราใหม่ ขอคุยกับคนไข้ก่อนว่าเป็นยังไง

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

OPD card ขนาด A4....ที่นี่เรียกบัตรตรวจโรค


หลายปีที่ใช้คอมพิวเตอร์บันทึกข้อมูลบริการของ รพ.ภูกระดึงจากปี 2546  เริ่มใช้ Ezhosp  แล้วก็มาเป็น Hosxp  เมื่อวันที่  2  มกราคม 2552...เนื่องจาก Server  ของ Ezhosp  Down  ไม่สามารถกูระบบคืนมาได้เลยต้องจำเป็นขึ้นระบบ Hosxp  ในกลางดึกปีใหม่ปี 2552  เลยทีเดียว

      โชคดีที่ทีม Admin  มีการเตรียมการมาบ้างเกือบปีที่มีการรื้อระบบ  ทดลองใช้งาน  หาคำตอบให้ข้อสงสัยต่างๆ  การสร้างและนำเข้าฐานข้อมูล  อื่นๆจะปาถะ  เกือบเป็นบ้าทั้ง 3 คน

       ล้มลุก  คลุกคลานมาจะครบ 3 ปีแล้วระบบเริ่มนิ่งแล้ว  รวมถึงคนในระบบด้วย 555....ขอยืมคำกล่าวของ Admin  รพร.ด่านซ้ายมานิดหนึ่ง " องค์กรทุกองค์กร ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติครับ แต่เรื่องที่ไม่ปกติ คือ เราจะนั่งดูองค์กรเปลี่ยนแปลง หรือจะร่วมเป็นคนส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงองค์กร.."  น่าสนใจดีครับ

สัปดาห์แรกของบัตรคิว Version 6

สัปดาห์แรกหลังจากเริ่มใช้บัตรคิวแบบใหม่  จากเดิมเป็บแบบกระดาษแบ่งครึ่งมาเป็นแบบเต็มแผ่น (กระดาษ 5x5  นิ้วแบบต่อเนื่อง)
เนื่องจากแบบเดิมหมด  ไม่มีการสั่งมาใช้งานต่อ...จากการใช้งานผู้ใช้ (ส่วนใหญ่คือพยาบาล) แจ้งว่าใช้งานสะดวกขึ้นมาก  ไม่ต้องพยายามเขียนตัวเล็ก  เขียนโน๊ตอื่นได้เยอะกว่าเดิม (อื่นเดิมกระดาษเล็กมาก..)

ห้องเก็บบัตรล้น...

Update  3  มิถุนายน 2555
   นับถึงวันนี้  20  วันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของห้องทำงาน..รอจนกระทั่งห้องฟันเริ่มก่อสร้าง  ในส่วนของระบบบริการเวชระเบียนได้เริ่มทำเวชระเบียนออนไลน์แล้วปริมาณงานมากกว่า 70%  ในส่วนของการปรับแบบฟอร์มยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ  โดยหลักประกอบด้วย
   1. แบบรายงานฉีดยาและทำแผลต่อเนื่อง
   2. OPD Card  ที่ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาใช้การบันทึกในแบบบริการของแผนกเช่น  ทันตกรรม  กายภาพบำบัด  PCU  รวมถึงแพทย์แผนไทย 
   3. การออกแบบแบบฟอร์มสำหรับงานบริการต่างๆ

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เวชระเบียน เป็นของใคร ?



วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์, พ.บ.

ภาควิชานิติเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐

ได้มีการอ้างสิทธิในเวชระเบียนอย่างมากมายในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยเองก็อ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิในเวชระเบียนเพราะว่าเป็นประวัติการป่วยเจ็บหรือการรับการดำเนินการทางการแพทย์ของตนเอง ส่วนสถานพยาบาลก็อ้างเช่นเดียวกันว่าเวชระเบียนต้องเป็นของสถานพยาบาลทั้งในภาครัฐและในภาคเอกชนเพราะเป็นผู้จัดทำเวชระเบียนตั้งแต่จัดหาวัสดุอุปกรณ์จนกระทั่งบุคลากรที่เป็นผู้บันทึกล้วนแต่เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้การมอบหมายงานของสถานพยาบาลทั้งสิ้น ในเรื่องนี้นั้นผู้รู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเวชระเบียนบางท่านเคยให้ความเห็นว่า "ตัววัตถุเช่นกระดาษที่ใช้บันทึกนั้นเป็นของสถานพยาบาล ส่วนเนื้อหาในวัตถุนั้นเป็นของผู้ป่วย" เมื่อฟังดูแล้วยิ่งเป็นที่น่าสงสัยอย่างมากว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจะบริหารจัดการเวชระเบียนได้อย่างไร จะทำอย่างไรถ้าเจ้าของเนื้อหาในเวชระเบียนมาขอเนื้อหาแต่ไม่เอากระดาษที่บันทึก หรือถ้าจะใช้การถ่ายเช่น การถ่ายภาพ หรือการถ่ายสำเนาจะถูกต้องหรือไม่

เจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุน



การบูรณาการร่วมกันของ 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ เพื่อให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินสำหรับประชาชนทุกสิทธิ ไม่ต้องมีการถามสิทธิ สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้ จากนั้นให้หน่วยบริการ หรือโรงพยาบาลทำเรื่องเบิกจ่ายไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเบิกจ่ายกลาง หรือ เคลียริ่งเฮาส์” (Clearing House)  ก่อนที่ สปสช.จะเรียกเก็บเงินจากแต่ละกองทุนต่อไป


เปรียบเทียบ DRG

ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ได้ออกประกาศแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลต่างๆที่ทำสัญญากับทุกกองทุนทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคมและข้าราชการ(กรมบัญชีกลาง)ให้ใช้ DRG version 5 ซึ่งประกาศดังกล่าวไม่ได้มีการหารือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียแต่อย่างใด จึงทำให้โรงพยาบาลต่างๆมีการหารือกันเพื่อเสนอให้คณะกรรมการสปสช.ระงับการใช้ DRG version5 เพราะเกรงว่านโยบายนี้จะทำให้โรงพยาบาลรัฐมีปัญหาการขาดทุนมากยิ่งขึ้น