CQI - การแก้ไขปัญหาไม่มีผลการวินิจฉัยโรค


การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับงานบริการ
คำสำคัญ
สรุปผลงานโดยย่อ            
ชื่อทีม
1.              นายกัมปนาท               ปัญโญวัฒน์
2.              นายสงกรานต์             อูดอาด
3.              นายวีระศักดิ์                นามมา
4.              นายนิคม                       แนวสัตย์ซื่อ
ผู้จัดทำ
เป้าหมาย     
อยากให้เกิดอะไร---- มีการบันทึกรหัสโรคครบถ้วน  ถูกต้อง
                                ผลการพัฒนาคืออะไร  -----การสรุปการให้รหัสโรคภายหลังให้บริการผู้ป่วยนอกภายใน 7 วันน้อยกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนผู้รับบริการทั้งหมด  ในกรณีผู้ป่วยในหลังจำหน่ายภายใน 14 วันน้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยนอนทั้งหมด
                                สิ่งดีๆที่เกิดจากการพัฒนางานนี้คืออะไร----
ปัญหาและสาเหตุ  (ทำไมถึงทำ/เลือก /สนใจ) เรื่องนี้
1.             กระบวนงานโดยย่อ
สถาพการทำงานที่ผ่านมา /ปัญหาในกระบวนงานหรือขั้นตอน
                ปีงบประมาณ  2553  นับจากการใช้ระบบสารสนเทศแบบ Hosxp เป็นต้นมามีจำนวนข้อมูลแฟ้มที่ยังไม่ได้ให้รหัสโรคเป็นร้อยละ21.28 ในปีงบประมาณ 2553 เป็นร้อยละ 8.74 ในปีงบประมาณ 2554 จากจำนวนผู้รับบริการผู้ป่วยนอกทั้งหมด  อันเนื่องมาจากมีการบันทึกข้อมูลการให้บริการเข้าไปในระบบสารสนเทศ Hosxp  ไม่ครบถ้วนในทุกหน่วยบริการเช่น ห้องคลอด ห้องเอกซเรย์ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน  รวมถึงการเปลี่ยนแพทย์ผู้ให้บริการทุก 3 เดือนเนื่องจากไม่มีแพทย์ประจำ  ซึ่งจะต้องมีการอบรมการใช้งาน Hosxp ในทุกรอบของการเปลี่ยนแพทย์มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลภูกระดึง



การปรับปรุงที่เกิดขึ้น
ติดตามบันทึกรหัส ICD ย้อนหลังในระบบ OPD SQL  (เฉพาะสถานภาพผู้ป่วย ส่งเข้าตรวจ)
การตรวจติดตามในวันที่รับบริการ
1.             คัดแยกแฟ้มที่ยังไม่ได้บันทึกรหัสโรค หรือให้รหัสไม่ครบถ้วนตามกฎการให้รหัส จากแฟ้มเวชระเบียนที่ผ่านหน่วยตรวจอื่นๆ มาแล้ว แต่ยังไม่บันทึกรหัส ICD  
2.             ติดตามบันทึกรหัสโรคโดย Print report รายชื่อผู้ป่วยที่ยังไม่บันทึกการวินิจฉัยโรค เพื่อติดตามแฟ้มเวชระเบียนและบันทึกรหัสโรค
3.             หน่วยงานที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ให้รหัส เช่น ER  ให้นำส่งสำเนาแฟ้มเวชระเบียนต่อให้หน่วยรหัสโรคที่รับผิดชอบให้รหัสและบันทึกรหัส ICD
การตรวจติดตามในวันถัดไป
1.               Print report รายชื่อผู้ป่วยที่ยังไม่บันทึกการวินิจฉัยโรค และยืมแฟ้มเวชระเบียนมาให้และบันทึกรหัส ICD หน้าย้อนหลัง
2.               ดูข้อมูลรหัส ICD ย้อนหลังในระบบ OPD SQL แล้วนำมาบันทึกรหัส ICD หน้าย้อนหลัง เนื่องจาก
§  ไม่บันทึกการวินิจฉัยโรคในใบ Request ต่างๆ เช่น Lab, X-ray, U/S, อื่นๆ.
§  ค้นแฟ้มพบแต่ไม่บันทึกข้อมูลการวินิจฉัยโรคหรือการตรวจรักษา
§  ค้นแฟ้มไม่พบ
3.                   รวบรวมข้อมูลและปัญหาต่างๆ พร้อมนำเสนอข้อมูลกลับคืนสู่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและแนวทางปฏิบัติร่วมกัน

การเปลี่ยนแปลง
                ข้อมูลแฟ้มเวชระเบียนที่ไม่ได้ให้รหัสโรค ICD-10 ลดลงจากร้อยละ  20.45  เป็นร้อยละ 5.25  ในปีงบประมาณ  2554
การวัดผลและการเปลี่ยนแปลง (ผลงาน/สถิติที่ผ่านมา/Case Report)
1.             ช่องว่าง/สิ่งที่ไม่เป็นดั่งที่หวังไว้
2.             สิ่งที่อยากได้
บทเรียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น