วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Scan เวชระเบียน ฉบับทำเอง

รูปแบบการนำเสนอผลงาน
1.       ชื่อผลงาน     ระบบเวชระเบียน (Smart Document V1.57.7.1.)
2.       ชื่อหน่วยงาน  โรงพยาบาลภูกระดึง
3.         เจ้าของผลงาน    โรงพยาบาลภูกระดึง   อำเภอภูกระดึง  จังหวัดเลย  โทร 042-871016-7  ต่อ  109  Email : phukraduenghospital@gmail.com
4.       ความเป็นมา / บทนำ
การบริการเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วย การค้นคืนแฟ้ม  การเก็บรักษา  การยืมเวชระเบียน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการให้บริการของสถานพยาบาล ทั้งพบว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการเช่น ให้บริการเวชระเบียนไม่พบในระยะเวลาที่ประกันไว้  เวชระเบียนสูญหาย  เวชระเบียนหาไม่พบ  เวชระเบียนไม่กลับคืนห้องเก็บเวชระเบียน ความลับของผู้ป่วย/ผู้รับบริการถูกเปิดเผย  เป็นต้น   งานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์จึงได้พัฒนาระบบการจัดเก็บและให้บริการเวชระเบียนแบบออนไลน์  เพื่อตอบสนองการให้บริการเวชระเบียนแก่ผู้ให้บริการและหน่วยงานในโรงพยาบาล อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเวชระเบียนพร้อมกันในหลายหน่วยงาน  ทั้งนี้สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยเวชระเบียน  ลดความเสี่ยงด้านต่างๆของเวชระเบียน 




5.       วัตถุประสงค์การพัฒนา
5.1.     เพิ่มศักยภาพในการบริการเวชระเบียนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.2.     ลดความเสี่ยงในการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย

6.       แนวคิดและหลักการของระบบหรือการพัฒนา
ปัจจุบันการรับบริการในโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้วยกันเอง  ดังนั้น การลดภาระของการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย (การค้นคืนแฟ้ม) จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้เร็วขึ้น  ลดความเสี่ยงเรื่องเวชระเบียนสูญหาย  การรักษาความลับของผู้ป่วยและผู้รับบริการ



7.       ประโยชน์และความสามารถของระบบที่พัฒนา
7.1.     เพิ่มความสามารถในการให้บริการเวชระเบียนผู้ป่วยได้ในทุกจุดบริการพร้อมกัน เป็นการลดระยะเวลารอคอยเวชระเบียน ณ จุดบริการ
7.2.     ลดภาระการค้นคืนแฟ้ม  การรับกลับเข้าห้องเก็บเวชระเบียน  ซึ่งส่งผลให้นำไปเพิ่มประสิทธิภาพในงานเวชระเบียนด้านอื่นได้ โดยใช้ความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์รับเวชระเบียนกลับแทน
7.3.     ลดภาระในการยืมและคืนเวชระเบียน
7.4.     ลดความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยโดยบุคคลอื่น โดยการกำหนดระดับการเข้าถึงข้อมูล
7.5.     ลดระยะเวลาบริการในขั้นตอนการขอสำเนาประวัติการรักษาพยาบาลย้อนหลัง  จาก 3 วันเหลือ  30  นาที
7.6.     เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการในคลินิกอื่นๆเช่น  สนับสนุนการตรวจสอบประวัติการรักษาพยาบาลในคลินิคผู้ป่วย DM - HT  สนับสนุนการตรวจสอบประวัติการรับบริการในคลินิกทันตกรรม  เป็นต้น

8.       สรุปผลการพัฒนา  การนำไปใช้  การประเมินผล
8.1.     ผู้ใช้งานพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น (เวชระเบียนไม่หาย - ลดระยะเวลารอคอยเวชระเบียน ณ จุดบริการ)
8.2.     ลดภาระการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย (พนักงานห้องบัตรไม่ต้องรีบค้นแฟ้มเวชระเบียน)

9.       ข้อเสนอแนะและโอกาสพัฒนา
9.1.     เวชระเบียนที่เกิดจากการบริการยังควรต้องมีอยู่ เนื่องจากระบบสารสนเทศยังตอบสนองได้ไม่ครบถ้วน
9.2.     ระบบ Scan Document  ควรเป็นระบบการสำรองข้อมูลเพิ่มเติมจากระบบสำรองปกติของหน่วยงาน




ภาคผนวก
ภาพรวม             Smart  Document
ระบบออกแบบมาเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น   เวชระเบียนผู้ป่วยรายครั้งที่มารับบริการ ข้อมูลการทำ  EKG   ข้อมูลการส่งต่อ (บส.08)  ข้อมูลปกปิดการรับบริการ(ดูได้ตามสิทธิที่อนุญาต)  การเก็บข้อมูลย้อนหลัง (ข้อมูลเดิม) เป็นต้น


การเข้าดูสามารถเข้าดูผ่านระบบ  HOSxP  หรือที่ Browser (Chrome) ซึ่งจะต้องมีการ  Login  เข้าดูโดยใช้ Username  Password  เดียวกับ HOSxP

ตัวอย่างการเรียกดูประวัติรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก  รายบุคคล   



                แสดงผลเป็น 2 รูปแบบคือในรูปแบบไฟล์ภาพ (JPEG) แยกตามวันที่มารับบริการ  และรูปแบบ Electronic medical record (EMR)  ในกรณีที่มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ  จะแสดงผลการตรวจครั้งนั้นมาด้วย



กรณีที่ผู้ป่วยมีการทำ  EKG  จะแสดงรูป EKG  ตามตัวอย่าง


     เพิ่มเติมในส่วนของ Medication Profile ในคลินิก  DM – HT    สามารถแสดงข้อมูลการมารับบริการ 5 ครั้งหลังสุดซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสัญญาณชีพ  รายการยาที่ใช้  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  เป็นต้น


                ทั้งนี้รายการยาที่นำมาแสดง  ขึ้นอยู่กับรายการยาของแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากอ้างอิงตาม ICODE หรือ DID standard





ข้อมูลการรับบริการในคลินิกทันตกรรม  10  ครั้งหลังสุด  ช่วยให้ทันตแพทย์และผู้ช่วยสามารถวางแผนการรักษาพยาบาลได้ต่อเนื่อง


ระบบดังกล่าวช่วยลดภาระในการรับเวชระเบียนคืนห้องเก็บบัตร โดยใช้เครื่องรับกลับ(Barcode)  แทนการรับกลับด้วยคน  ช่วยลดภาระงานของพนักงานประจำห้องเวชระเบียน
ปัจจุบันยังพบว่าเวชระเบียนยังไม่กลับมาที่งานเวชระเบียนภายในวันที่รับบริการเนื่องจากมีการคงค้างที่หน่วยงาน  สรุปไม่เสร็จ  ยังไม่ได้บันทึก  ยังไม่สรุปด้านการเงิน เป็นต้น  โดยทีมได้กำหนดแนวทางในการคืนเวชระเบียนไว้เป็นประเด็นหลักๆดังนี้
  1. 1.       กรณีมีการรับบริการ  ให้นำส่งเวชระเบียนที่ห้องการเงินภายใน 5 วันหลังให้บริการ
  2. 2.       กรณีไม่มีบริการ เนื่องจากไม่รอตรวจ  เรียกไม่พบ แต่มีการซักประวัติและวัดสัญญาณชีพไปแล้ว  ให้บันทึกรหัสโรคเป็น  ไม่รอตรวจ”  พิมพ์เวชระเบียนและนำส่งห้องการเงินเพื่อบันทึกค่าใช้จ่ายในการให้บริการ
  3. 3.        กรณีที่ลงทะเบียนรับบริการแต่ยังไม่ได้ซักประวัติ  วัดสัญญาณชีพ  ให้ผู้รับผิดชอบลบข้อมูลการลงทะเบียน  โดยตรวจสอบในวันรุ่งขึ้น

กรณีผู้ป่วยใน  ระบบสามารถเรียกดูประวัติการรักษาพยาบาลขณะรับไว้รักษา  ช่วยลดภาระการค้นคืนเวชระเบียนผู้ป่วยใน อำนวยความสะดวกให้ทีมตรวจสอบเวชระเบียนสามารถเรียกดูได้ตามเวลาที่ต้องการ 


1 ความคิดเห็น: