นิยาม
ความลับของผู้ป่วย หมายถึง ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยทุกอย่าง
โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับประวัติสุขภาพหรือการรักษาพยาบาล เช่น
การตรวจวินิจฉัยโรค อาการของโรค ยาที่ใช้ รักษา
และถ้าหากเป็นการเจ็บป่วยที่ไม่เป็นไปตามปกติหรือมีผู้กระทำ
เมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยไปแล้วอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอายหรือถูกคุกคามชีวิต เช่น
กรณีผู้ป่วยถูกข่มขืน ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกยิง หรือป่วยเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
เป็นต้น
1.
ความผิดฐานเปิดเผยความลับผู้ป่วยมาตรา 323 ตามประมวลกฎหมายอาญาจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับ 1,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2.
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ. 2540 มาตรา 15,24,25 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.
เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
พ.ศ. 2536 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับ ของผู้ป่วยซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการประกอบวิชาชีพ
เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วยหรือเมื่อต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายหรือตามหน้าที่
เจ้าหน้าที่ หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย
หรือเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล
กรรมการสารสนเทศ
กำหนดแนวทางการเก็บรักษาความลับของผู้ป่วยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติดังนี้
1. หลักการในการตัดสินใจ
เพื่อเปิดเผยหรือปกปิดข้อมูลส่วนตัว หรือความลับของผู้รับบริการ มีดังนี้
- ให้ความสำคัญ
เคารพเอกสิทธิ์หรือความเป็นอิสระในความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิผู้ป่วย
- ความซื่อสัตย์ยึดมั่นในพันธะสัญญา
การขอให้ผู้ป่วยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวแก่ทีมสุขภาพเป็นการบ่งชี้ว่าทีมสุขภาพมี
พันธะสัญญาที่จะต้องปกปิดความลับหรือใช้ข้อมูลที่ได้มานั้นอย่างเหมาะสม
- ข้อยกเว้นสำหรับการปกปิดความลับการเปิดเผยความลับสามารถกระทำได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในกรณีที่ผู้ป่วย ยินยอมและกรณีอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- ในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
- ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะไร้ความสามารถ
- เพื่อปกป้องผู้อื่นจากอันตราย
หรือเพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
- เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย เช่น
การเปิดเผยให้บุคลากรอื่นในทีมสุขภาพ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วย
- เมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น
การรายงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การทารุณกรรมเด็ก โรคติดต่อ
2.จำกัดตัวบุคคลหรือบุคลากรที่มีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลหรือให้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้รับบริการ
- การจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลหรือให้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้รับบริการในคอมพิวเตอร์
- เจ้าหน้าที่
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วย มีหน้าที่รักษาความลับของผู้ป่วย
โดยมี Username
/ Password ในการเข้าถึงข้อมูลแต่ละโปรแกรม
- รหัส Username/Password ต้องเก็บรักษาเป็นความลับห้ามมิให้บุคคลอื่นนำไปใช้
- กรรมการสารสนเทศกำหนดให้ต้องมี Username/Password ในการเข้าถึงข้อมูลแต่ละโปรแกรม ดังนี้
- โปรแกรม HOSxP กำหนดให้มีการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทุก 6 เดือน
- ระบบ Datacenter กำหนดโดยอ้างอิงสิทธิตาม HOSxP
- โปรแกรมบันทึกข้อมูล online/offline ของ สปสช.
- ระบบ internet ของโรงพยาบาล
โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและใช้งานต้องเก็บ Username
/ Password ของตนเองเป็นความลับไม่เปิดเผยให้บุคคลอื่นล่วงรู้
- กำหนดสิทธิ์ของผู้เข้าถึงข้อมูลและมีการกำหนดชั้นความลับของข้อมูลในโปรแกรม
HOSxP ดังนี้
- สิทธิในการใช้งานโปรแกรม HOSxP
- สิทธิในการเข้าถึง/เพิ่ม/แก้ไข/ลบ/พิมพ์
ข้อมูลทะเบียนประวัติส่วนตัวของผู้ป่วย
- สิทธิในการเข้าถึง/เพิ่ม/แก้ไข/ลบ/พิมพ์
ข้อมูลทะเบียนประวัติการเข้ารับบริการของผู้ป่วย
- สิทธิในการเข้าถึงแผนก/หน่วยงานต่างๆ/คลินิกพิเศษ
- สิทธิในการเพิ่ม/แก้ไข/ลบ รายการเวชภัณฑ์
- สิทธิในการตรวจ/ยืนยันผลชันสูตร/เอกเรย์
- สิทธิในการอ่านผลตรวจชันสูตร/เอกเรย์
- สิทธิในการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน
- สิทธิในการเพิ่ม/แก้ไข/ลบ ข้อมูลการเงิน
- สิทธิในการเพิ่ม/แก้ไข/ลบ ข้อมูลงานเอกสาร
- กำหนดให้ศูนย์คอมพิวเตอร์มีหน้าที่เก็บ log file ของผู้ใช้งาน HOSxP และสามารถตรวจสอบ Log file ของผู้ป่วยได้หากเกิดกรณีแก้ไขดัดแปลงเกิดขึ้น
- การจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลหรือให้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้รับบริการในแฟ้มเวชระเบียน
- แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยจัดเก็บที่ห้องเวชระเบียนซึ่งเป็นสถานที่เฉพาะและเป็นสัดส่วนจำกัดการเข้าถึง และ ให้สิทธิเฉพาะเจ้าหน้าที่งานเวชระเบียนในการค้นและจัดเก็บแฟ้มเวชระเบียนเท่านั้น และห้ามบุคคล ภายนอกเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ..
- นอกเวลาราชการและวันหยุดราชการจะปิดประตูเวชระเบียนทุกด้านให้มีการเข้าออกทางเดียวเพื่อป้องกันการสูญหายของเวชระเบียน
- จัดให้มีการจัดเวรให้อยู่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยเวรเช้าเสาร์-อาทิตย์ให้เวรละ 2 คน สำหรับวัน หยุดนักขัตฤกษ์จัดให้มีเวรเข้า 3 คน เวรบ่าย-ดึกเวรละ 2 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้รับ
บริการ
- การขอข้อมูลประวัติในแฟ้มเวชระเบียน
ให้ปฏิบัติตามแนวทางการขอประวัติการรักษา (เวชระเบียนผู้ ป่วย)
หน้าที่ในการรักษาความลับของผู้ที่เข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย
1.
การบันทึกข้อมูลประวัติและการเข้ารับบริการของผู้ป่วย
- ไม่บันทึกข้อมูลที่ไม่เป็นจริง (untrue
information)
- ไม่ควรบันทึกข้อมูลที่เป็นจริงแต่เป็นข้อมูลที่ไม่สมควรบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
- ก่อนการบันทึกข้อมูลใดๆ
ลงในแฟ้มประวัติเวชระเบียนของผู้ป่วย
หรือในคอมพิวเตอร์ต้องพิจารณาเนื้อหาที่จะบันทึกให้รอบคอบ
- การนำข้อมูลของผู้ป่วยหรือตัวผู้ป่วยไปเผยแพร่ให้ความรู้
จัดทำราย ตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการต่างๆ
- ให้เก็บเอกสารหรือรายงานเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
เมื่อนำไปใช้ในการสอนหรือใช้ประกอบในการเขียนรายงานต่าง ๆ
- การเปิดเผยข้อมูลจะต้องได้รับหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
ที่แสดงถึงความยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล
- การเขียนรายงานผู้ป่วยเพื่อตีพิมพ์โดยทั่วไปแล้วไม่ควรใส่
ชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย
- หลีกเลี่ยงการตีพิมพ์
หรือแสดงรูปผู้ป่วยที่เห็นใบหน้าชัดเจน ถ้าจำเป็นต้องปิดส่วนหนึ่งของใบหน้า
- การนำผู้ป่วยไปแสดงหรือปรากฏตัวต่อสาธารณชนเพื่อเป็นตัวอย่างในการให้ความรู้แก่ประชาชน
ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยก่อนการนำเรื่องราวของผู้ป่วยไปเปิดเผยต่อสื่อมวลชน
- ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยงการนำเรื่องผู้ป่วยเข้าประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลอื่น
ที่อยู่นอกวิชาชีพทางการแพทย์ ไม่ควรเปิดเผยชื่อ- นามสกุลผู้ป่วย
- ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนหรือผู้ไม่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลทางโทรศัพท์โดยเด็ดขาด
- กรณีเป็นบุคลากรที่มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลหรือตอบคำถามเกี่ยวกับผู้ป่วย
เช่น ระชาสัมพันธ์ ควรจะต้องระมัดระวัง
และตรวจสอบผู้ที่ถามนั้นว่า เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยอย่างไรก่อน
ให้ข้อมูลตามความจำเป็นและตามขอบเขตที่ได้รับอนุญาตให้เปิดข้อมูลผู้ป่วยได้การอนุญาตให้เปิดข้อมูลผู้ป่วย
โรงพยาบาลกำหนดให้บุคลากรต่อไปนี้มีสิทธิอนุญาตให้เปิดข้อมูลผู้ป่วย
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ,ประธานองค์กรแพทย์ ,แพทย์เจ้าของไข้,หัวหน้างานเวชระเบียน
วิธีปฏิบัติเมื่อมีการละเมิด
1.
ผู้พบเหตุการณ์รายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบเพื่อประเมินและบันทึกความเสี่ยง
หัวหน้าหน่วยงานรายงานผู้จัดการความเสี่ยง/หัวหน้างานเวชระเบียน
ทราบเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ทันท่วงที
2.
คณะกรรมการสารสนเทศทบทวนความเสี่ยงทำ RCA( Root Cause Analysis)หาสาเหตุของปัญหาและประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง
เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
3.
คณะกรรมการสารสนเทศพิจารณาแนวทางแก้ไข ออกระเบียบปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุละเมิดเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำซ้อน
การรักษาความปลอดภัย
และป้องกันการสูญหายของแฟ้มเวชระเบียนมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1.
จัดสถานที่ให้เหมาะสำหรับจัดการเก็บรักษา
โดยมีชั้นสำหรับใส่แฟ้มประวัติผู้ป่วยนอกและแฟ้มผู้ป่วยในและเน้นให้เก็บอย่างระมัดระวัง
เพื่อลดความเสียหายทางกายภาพ มีช่องที่มีขนาดเหมาะสม หยิบใช้สะดวก
ลดการเกิดการชำรุดของเวชระเบียน
2.
สำรวจสายไฟในหน่วยงานไม่ให้ชำรุดสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
เพื่อป้องกันอัคคีภัย
3.
มีการจำลองเหตุการณ์ ร่วมซ้อมแผนภาวะฉุกเฉินของโรงพยาบาลและเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
4.
จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง
และมีการตรวจสอบให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายทางกายภาพที่อาจเกิดขึ้นของเวชระเบียน
5.
การสำรวจปลวกและกำจัดปลวกในหน่วยงาน
และมีระบบการจัดการขยะที่เหมาะสมในหน่วยงาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง
6.
สถานที่จัดเก็บแฟ้มเวชระเบียนของผู้ป่วยทุกประเภทห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต
7.
การขอประวัติผู้ป่วยเพื่อไปใช้ภายนอกโรงพยาบาล
ต้องทำบันทึกการขอข้อมูลตามแบบฟอร์มไว้เป็นหลักฐาน เพื่อขออนุญาตกับผู้บังคับบัญชา
และพิจารณาเป็นรายกรณีไป โดยให้เฉพาะสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
8.
เจ้าหน้าที่ของแผนกเวชระเบียนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในได้ โดยทุกคนจะได้รับการอบรมในเรื่องการรักษาข้อมูลผู้ป่วย
จรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่เวชระเบียน ในการไม่เปิดเผยข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์หรือการขอเข้าดู
9.
มีการจัดเวรปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง
โดยเวรเช้าวันเสาร์-อาทิตย์จัดเวรละ 2 คน เวรบ่าย-ดึก
เวรละ 1 คน
และจัดเจ้าหน้าที่เสริมในวันที่มีผู้รับบริการมาเป็นพิเศษ
เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการ
10.
ห้องตรวจจะต้องส่งแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย
คืนหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจในแต่ละวันหรือภายใน 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยที่ Admit ให้ ward ส่งคืน OPD Card ภายหลัง Discharge ผู้ป่วย
11.
แฟ้ม IPD ภายใน 15 วัน หลังจากผู้ป่วย Discharge เจ้าหน้าที่ผู้คืนจะต้องลงบันทึกการคืนในใบรายงานยอดผู้ป่วยนอกหรือสมุดส่งคืนแฟ้มผู้ป่วยใน
ส่วนเจ้าหน้าที่เวชระเบียนมีหน้าที่รับคืนโดย manual และบันทึกใน
Computer
12.
การใช้ระบบสารสนเทศในการควบคุมเวชระเบียนโดยออกแบบโปรแกรมสามารถบันทึกการส่งเวชระเบียนผู้ป่วยไปแผนกต่างๆ
และสามารถตรวจสอบกลับได้
เมื่อพบว่าประวัติผู้ป่วยที่ค้นหาไม่พบถูกส่งไปจุดบริการใดเป็นจุดสุดท้ายที่ใช้บริการ
13.
การประชุมชี้แจงนโยบายด้านเวชระเบียนให้กับเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทราบ
14.
กรรมการสารสนเทศกำหนดผู้มีสิทธิและระดับความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลในแฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วย
ดังนี้
ผู้มีสิทธิ
1.
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเวชระเบียนทุกคน
2.
แพทย์/พยาบาล
ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย
3.
ผู้ทำงานวิจัย
หรือนักศึกษาหลักสูตรทางการแพทย์และสาธารณสุขต่างๆ
ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าฝึกอบรมที่โรงพยาบาล
4.
ศาล ,บริษัทประกันชีวิต,สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงาประกันสังคม,บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ,กรมบัญชีกลาง ต้องทำหนังสือขอเข้าดูข้อมูล หรือมีหมายศาล โดยผ่านผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ขออนุญาตแชร์คะ
ตอบลบ