สารสนเทศ


Service Profile  งานเทคโนโลยีสารสนเทศ



1. ชื่อหน่วยงาน   งานสารสนเทศทางการแพทย์และเทคโนโลยี
2. ความมุ่งหมายของหน่วยงาน (Purpose statement )
                พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร   ผู้ให้บริการ  และผู้รับบริการ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา ตรวจสอบได้และช่วยลดขั้นตอนการทำงาน  พิทักษ์สิทธิ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

3. ขอบเขตการให้บริการ
                1. ควบคุมดูและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องแม่ข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
                2. ดูแลและแก้ไขปัญหาทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และบุคลากร ให้ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                3. จัดการอบรมให้กับบุคลากรในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้งานสารสนเทศของโรงพยาบาลตามความเหมาะสม
                4. จัดทำเว็บไซด์ พัฒนาโปรแกรม สร้างฐานข้อมูล และระบบรายงานข้อมูลด้านสาธารณสุข เพื่อการใช้งานและตอบสองความต้องการข้อผู้บริหาร ผู้ให้บริการ  และผู้รับบริการ
5. เชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศแต่ละหน่วยงานให้สามารถใช้สารสนเทศร่วมกันได้    
       

 ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ(จำแนกตามกลุ่มผู้รับผลงาน)


ผู้รับผลงาน
ความต้องการที่สำคัญ
1. ผู้ป่วย
มีระบบคอมพิวเตอร์ที่เอื้อต่อการรักษา และลดระยะเวลารอรับบริการ
2. ญาติผู้ป่วย
สามารถให้บริการสารเทศแก่ญาติผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ลูกค้าภายนอกโรงพยาบาล
มีระบบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน
4. ผู้ร่วมงานในโรงพยาบาล
1. มีระบบคอมพิวเตอร์ที่เอื้อต่อการรักษา และลดระยะเวลารอรับบริการ
2. มีระบบสังเคราะห์สารสนเทศ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดของระบบงาน และระบบรายงานอื่นๆ
3. มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ที่มาช่วยในการติดตามประวัติ และการให้บริการ




4. ปริมาณงานและทรัพยากร (คน  เทคโนโลยี เครื่องมือ)
4.1 ปริมาณงาน
                1. ดูแลบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จำนวน 3 เครื่องให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
                2. ดูแลบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย จำนวน 62 เครื่อง ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
                3. ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาด้านการใช้งานด้านเทคโนโลยีกับหน่วยบริการ 31 หน่วยงานทั้งโรงพยาบาล
                4. จัดทำรายงานให้กับหน่วยบริการภายในโรงพยาบาลตามที่ร้องขอ
4.2. อัตรากำลัง
ตำแหน่ง หน้าที่
จำนวน
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์
1
1


4.3 เครื่องมือ
รายการเครื่องมือที่สำคัญ
จำนวน
ระบบการดูแลรักษาเครื่องมือ
1. เครื่องแม่ข่ายหลัก (Server) สำหรับโปรแกรมHOSxP
1
1. เปิดแอร์ให้ห้องเก็บ Server ตลอด 24 ชม.
2. ทำการเป่าฝุ่นเครื่อง Server ปีละ 1 ครั้ง
3. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้กับเครื่อง Server
4. เก็บเครื่อง Server ไว้ในตู้เก็บอย่างดีพร้อมล็อคกุญแจ
2.เครื่องสำรองข้อมูลจาก Server HOSxP  
    2.1 สำรองข้อมูลชนิด (Replicate real time
    2.2 สำรองข้อมูลสำหรับโปรแกรม Scan document



2

1
1. เปิดแอร์ให้ห้องเก็บ Server ตลอด 24 ชม.
2. ทำการเป่าฝุ่นเครื่อง Server ปีละ 1 ครั้ง
3. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้กับเครื่อง Server
4. เก็บเครื่อง Server ไว้ในตู้เก็บอย่างดีพร้อมล็อคกุญแจ
3. เครื่องแม่ข่ายเก็บ Log Files ในการแชร์ และเข้าใช้ Internet  
1
1. เปิดแอร์ให้ห้องเก็บ Server ตลอด 24 ชม.
2. ทำการเป่าฝุ่นเครื่อง Server ปีละ 1 ครั้ง
3. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้กับเครื่อง Server
4. เก็บเครื่อง Server ไว้ในตู้เก็บอย่างดีพร้อมล็อคกุญแจ
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย
51
1. ติดตั้งโปรแกรม Anti virus ทุกเครื่อง
2. ทำการเป่าฝุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์ เดือนละครั้ง (ดำเนินการ ต.ค. 53)
3. ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าทุกตัว
5. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (NoteBook)
5
- ติดตั้งโปรแกรม Anti virus ทุกเครื่อง
7. อุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Switch Hub)

8
- ติดเครื่องสำรองไฟฟ้าให้ Switch Hub ทุกตัว


5. กระบวนการสำคัญ(Key Process)
กระบวนงานที่สำคัญ
(Key  Process)
สิ่งที่คาดหวัง
(Process  Requirement)
ความเสี่ยงสำคัญ
(Key   Risk)
ตัวชี้วัดสำคัญ
(Performance  Indicator)
1. งานซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์
1. เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ระบบสารสนเทศมีความพอใช้งานเสมอ
1. ระบบโปรแกรมเวชระเบียน HOSxP ไม่สามารถใช้งานได้
2. เครื่องลูกข่ายไม่พร้อมใช้งานเสีย ชำรุด
3. อินเตอร์เน็ตใช้ไม่ได้
1. อัตราการการซ่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเสร็จทันตามกำหนด
2. จำนวนครั้งที่ Internet ใช้งานไม่ได้
2. งานบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวง
1. เพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. อายุเครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้น
1. ระบบโปรแกรมเวชระเบียน HOSxP ล้ม
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชำรุด
1. จำนวนครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการตรวจเช็คอย่างน้อย 1 เดือน/ครั้ง
3. งานให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เพื่อให้ผู้รับบริการได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน และหน่วยงานสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการบริการผู้ป่วยได้
- เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพเพียงพอกับงานที่ทำ
1. การบันทึกข้อมูลไม่ถูกต้อง
2. การรายงานข้อมูลคลาดเคลื่อน
1. อัตราการบันทึกข้อมูล DRGs Error
2. อัตราการรายงานงานสถิติการให้บริการหลักข้อมูลไปยังหน่วยบริการภายใน 15 ของทุกเดือน





7. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
                1. ผู้รับบริการได้รับการพิทักษ์สิทธิ
                2. มีข้อมูลที่จำเป็นและถูกนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรทั้งด้านบริหารงานภายในองค์กรและบริการภายนอกองค์กร(ผู้มารับบริการ) 
3. มุ่งพัฒนาข้อมูลสารสนเทศในโรงพยาบาลภูกระดึง ให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ ครอบคลุมทุกหน่วยงาน
8.  ความท้าทาย  และความเสี่ยงที่สำคัญ จุดเน้นในการพัฒนา
                I ความท้าทาย
                                1. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารให้เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศอย่างแท้จริง
                                2. ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ต้องมาทำรายงานทุกเดือน
                                3. นำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการการพัฒนาองค์กร
II ความเสี่ยงที่สำคัญ
ความเสี่ยงที่สำคัญ
แนวทางป้องกันและแก้ไข
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1. การสำรองข้อมูล (Back Up) เพื่อลดความเสี่ยงจากที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลและสามารถนำข้อมูลกลับมาใช้งานได้ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์เสียหาย ไวรัสคอมพิวเตอร์ทำลายข้อมูลผู้บุกรุกทำการลบข้อมูลหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยผู้ใช้งานเอง
1. ระดับที่ 1  งาน ICT ได้ดำเนินซื้อเครื่อง Server จำนวน  2  เครื่องเป็นเครื่องหลัก ซึ่งมี HD 4 ตัวทำงานแบบ HOT SWAP  สามารถสำรองข้อมูลได้เอง หากมี HD ลูกใดๆลูกหนึ่งเสียก็สามารถนำ HD ลูกอื่นมาใช้แทนได้เลย
2. ระดับที่ 2  ได้นำเครื่อง Server ตัวเก่ามาทำเป็นเครื่องสำรองข้อมูลเป็น Real time ซึ่งถ้าหากเครื่องหลักเสีย ก็สามารถนำเครื่องเก่ามาใช้แทนได้ทันที่
3. ระดับที่ 3   สำรองข้อมูลไว้ที่เครื่องของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ 4 เวลา เช้า 8.30 น. บ่าย 12.00 น. เย็น 16.00 น. และเวลา 00.00 น.
4. ระดับที่ 4  สำรองข้อมูลไว้ที่คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ไว้ที่งานประกันสุขภาพ แบบ Real Time สามารถนำไปใช้แทนได้ทันที
- ยังไม่พบการสูญหายข้อมูลตั้งแต่นำตามมาตรการนี้
2. การป้องกันและแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อน เพื่อป้องกันและแก้ไข้ปัญหาจากกระแสไฟฟ้า ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์
1. การติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (UPS) เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
2. เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าดับ ให้รีบทำการบันทึกข้อมูล (Save) คอมพิวเตอร์ที่ยังค้างอยู่ และปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย (Safety) รวมทั้งการปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นภายในศูนย์ด้วย
- เครื่องสำรองไฟฟ้าที่สำรองเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) สำรองไฟฟ้าได้ประมาณ 30 นาที  
- เครื่องสำรองไฟฟ้าที่สำรองเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) สำรองไฟฟ้าได้ประมาณ  5-10 นาที
3. การเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย
1. พัฒนาระบบ Scan  เอกสารเวชระเบียนและเอกสารอื่น  เพื่อลดการบริการเวชระเบียนและป้องกันการเปิดเผยข้อมูลคนไข้- ยังไม่พบการร้องเรียนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย

2. กำหนดสิทธิ / รหัสผ่านของบุคลากรเพื่อเข้าสู่โปรแกรม HOSxP และการเข้าถึงเวชระเบียนที่ Scan 
3. กำหนดแนวทางปฏิบัติการขอใช้ / ขอถ่ายสำเนาเวชระเบียน
4. มีแนวทางปฏิบัติการเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่เมื่อเปิดเผยแล้วเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย
5. สถานที่เก็บเวชระเบียนที่มิดชิด ปลอดภัย

4. ความถูกต้อง ทันเวลาของข้อมูลสารสนเทศ
- กำหนดแนวทางปฏิบัติในการรายงาน การบันทึก การวิเคราะห์และการกระจายข้อมูล
การรายงานข้อมูลเบื้องต้นไปยังหน่วยบริการทันตามกำหนด เช่น สถิติผู้ป่วย 5 อันโรคที่บ่อย รายงานตัวชี้วัดบางงานที่ดำเนินการเสร็จ เช่น ตึกผู้ป่วยใน
5. ข้อมูลผิดพลาด
1. จัดทำคู่มือการให้รหัสโรค หัตถการจัดทำคู่มือการลงข้อมูล
2. มีการประชุมตัวแทนจุดให้บริการเพื่อทำความเข้าใจ และให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบันทึกข้อมูล
- ผลคะแนะ Auditor เพิ่มขึ้น

 


1 ความคิดเห็น: