วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนวโน้มที่น่าเป็นห่วง

   ผ่านมาหนึ่งไตรมาศของปีงบประมาณ 2558  โรงพยาบาลภูกระดึงดูราบและเรียบ  แต่ภายใต้ความเป็นไปดังกล่าวสิ่งที่กังวลของทีมบริหาร(บางคน)  พบว่า  “ปีหน้า  น่าห่วงยิ่งกว่า”  ทำไมถึงพูดเช่นนั้น เมื่อดูจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบริการในภาพรวมของโรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอก  ผู้ป่วยในตลอดจนรายได้ที่เข้ามาโรงพยาบาลมันเริ่มคล้อยและต่ำลงเรื่อยๆ
image



        ในส่วนของผู้ป่วยนอกเมื่อเทียบย้อนหลังไม่มากนักพบว่าตั้งแต่ปีงบประมาณ  2553 เริ่มใช้ระบบ HOSxP  ข้อมูลบริการเพิ่มขึ้นตามลำดับและเริ่มลดลงในปี 57  จนกระทั่งปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มแล้วมีทีท่าจะดำดิ่งลงเรื่อยๆ โดยในปีงบประมาณล่าสุดคือ ปีงบประมาณ 2557  ผู้รับบริการมีสัดส่วนโดยรวมลดลงร้อยละ  7.87  หากพิจารณาในส่วนของผู้ป่วยนอกจะมีสัดส่วนลงลงถึงร้อยละ  19.28 (เกือบ 1 ใน 5) ของผู้ป่วยนอกทั้งปี ทั้งนี้เกิดจากนโยบายการลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล มาจากสาเหตุหลักๆ 3 ประการคือ
1. การลดจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ  ในที่นี้หมายถึง  แพทย์  พยาบาล  พนักงาน 
2. การปรับลดระยะเวลาให้บริการลง  4  ชั่วโมงในวันปกติและไม่ให้บริการในวันหยุดราชการและหยุดนักขัตฤกษ์
3. จำนวนแพทย์ที่ลดน้อยลง  จากเดิมแพทย์ประจำ 3  ลดลงเหลือ 2 คน (เฉลี่ยแพทย์ 1 คนต่อผู้ป่วยนอก  96.70 คน)
     จากข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น คาดว่าจะเริ่มส่งผลกระทบในปีงบประมาณหน้าหากเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณขาลงของกองทุนผู้ป่วยนอกเป็นระบบเดิม (จ่าย 50% ตามจำนวนประชากรลงทะเบียน + เกณฑ์ความแตกต่างด้านอายุและพื้นที่ทุรกันดาร)  อีกประการหนึ่งซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนแพทย์ (ย้าย/ลาออก) อันเนื่องจากภาระงานที่มีมากเมื่อเทียบกับ รพช.ขนาดเดียวกันในพื้นที่จังหวัดเลยตามแผนภูมิเปรียบเทียบด้านล่าง
image
image
  
    จากแผนภูมิแสดงข้อมูลจำนวนผู้รับบริการเฉลี่ยต่อวันพบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (216.50 รายต่อวัน)  
  ในส่วนของผู้ป่วยใน  เป็นข้อมูลที่น่ากังวลที่สุดในส่วนของผู้รับผิดชอบการเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์   พบว่าแนวโน้มเริ่มลดลงและเป็นข้อกังวลอย่างมากเนื่องจากส่งผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณกองทุนผู้ป่วยในในปีงบประมาณ  2559  ซึ่งใช้ข้อมูลปีปัจจุบันเป็นฐานในการจัดสรรงบประมาณ
image   จากแผนภูมิดังกล่าวหากนำข้อมูล AdjRW ปีงบประมาณ 2557 มาคำนวณคร่าวๆจะพบว่าได้ประมาณจำนวนกว่า  13  ล้านบ้าน(รวมเงินเดือน) หากคิดประมาณการที่ร้อยละ  70 คาดว่างบผู้ป่วยในน่าจะได้รับจัดสรรที่ประมาณ 11-12  ล้านบาท
imageจากข้อมูล CMI  รายโรคพยาบาลพบว่าโรงพยาบาลภูกระดึงมีสัดส่วน CMI  ค่อนข้างสูงในโรงพยาบาลระดับเดียวกัน (Service Plan ประเภท F2  ควรมีค่า CMI ไม่น้อยกว่า  0.60)  ทั้งนี้อาจเนื่องจากสาเหตุหลายประมารเช่น Same day case , หัตถการไม่ยุ่งยากซับซ้อน , วันนอนนาน(Paliative care case)  เป็นต้นซึ่งเป็นโจทย์ที่โรงพยาบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องนำไปพิจารณาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น