วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Smart Document โดยทีมโรงพยาบาลภูกระดึง

ระบบจัดเก็บเอกสารผู้ป่วยนอก – ผู้ป่วยใน
   
          ก่อนเริ่มที่ระบบจัดเก็บและแสดงผล  Document  Scan  แบบบันทึกการให้บริการผู้ป่วยนอกถูกออกแบบให้มีกระดาษที่ผู้รับบริการต้องได้รับอย่างน้อย  2  ชิ้นประกอบด้วย  1.บัตรคิวหรือผนวกใบนำทางมาด้วย    2.แบบ OPD Card  3. ใบสั่งยา     4. เอกสารอื่นๆที่ได้เพิ่มเติมจากการบริการเช่น  EKG  -  แบบบันทึกของแพทย์แผนไทย  -  แบบบันทึกความจำเป็นกรณีได้รับยานอกบัญชียาหลัก  และอื่นๆ



   กรณีที่เครื่องอ่านไม่ได้  สามารถแก้ไขและ Update ลงในฐานข้อมูลได้ตามภาพด้านล่าง  

การแสดงผลจากการนำเข้าฐานข้อมูล HOSxP



                เอาละครับนอกจากจะเดินเข้ามาและได้เอกสารระหว่างเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลอย่างน้อยอีก 3 ชิ้น  เหตุผลและความจำเป็นต้องใช้คือ  มันจำเป็นมีแค่นั้นจริงๆครับ  บังเอิญมีคนเหนียวซะหน่อยตั้งคำถามว่าทำไม   ทำไมต้องมีหลายชิ้นแท้  สิ้นเปลือง  ไม่ประหยัดเลย  ทำงานซ้ำซ้อน ไม่นึกถึงองค์กรบ้างเลย...หูชาครับท่าน  แล้วเกี่ยวกับผมมั๊ยเนี๊ยะ  เอาก็เอาวะ  (ขอโทษที่หยาบคาย)  เอามารวมในกระดาษขนาด  A4  แผ่นเดียวเป็นไร  เอาทุกอย่างมาใส่นี่แหละทั้งข้อมูลทั่วไป  ข้อมูลซักประวัติตรวจร่างกาย   ข้อมูลการตรวจรักษา  Lab – Xray  ลงผลไปด้วยเลย  ข้อมูลการสั่งจ่ายยาและเวชภัณฑ์  ข้อมูลการเงิน  ข้อมูลสิทธิรักษาพยาบาล  ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมลงลายมือชื่อ (ยานอกบัญชีฟรี  ข้อมูล Inform consent  ข้อมูลจิปาถะ) 
ไม่จบครับมีคำถามต่อ  ทำไมไม่ใช้กระดาษขนาดเล็กลง ไซส์ใหญ่ขนาดนี้เปลืองอิบอ๋ายซิ...ว่าเข้าไปนั่นที่ท่านผู้รู้แซวมานั่นแหละถูกที่สุดแล้วครับ  ข้อมูลที่อยากได้ขนาดนั้นกระดาษที่ใช้เกือบเต็มเหยียดหากใช้ A5 (กระดาษ A4 พับครึ่ง)น่าจะถูกกว่านะ สอบถามราคาเบื้องต้นจากผู้ขายที่ติดต่อตาหลอดพบว่า  A4  แผ่นละ  17 สต.  A5  แผ่นละ 18  สต.  (กว่าจะได้ A5  จะต้องจ้างตัดครึ่ง A4 ครั้งละ  2.5 สต.) รวมแล้วแพงกว่า A4 อยู่  3.5 สต.....ที่เขียนแบบนี้ก็พึ่งรู้เหมือนกันถ้าโรงพิมพ์ไม่บอกนะโง่ไปครึ่งหนึ่งเลย ...โง่พร้อมกระดาษ A5….ต่อนิด  หากข้อมูลพิมพ์ไม่พอจะใช้กระดาษ OPD Card 2 แผ่น(มีแผ่นต่อ) ค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกเท่าหนึ่งนะครับ  555  ได้ทีเลยเราสรุปว่าใช้ A4  ถูกกว่า....เย้  เราชนะ
เอาหละ  ได้ที่มาของ OPD Card  แผ่นเดียวแล้วตอบคำถามหลายข้อเลยเช่น  ลดความซ้ำซ้อนของการพิมพ์  ลดค่าใช้จ่าย  ได้ข้อมูลครบถ้วน ... ที่เหลือคือการออกแบบ   แบบบันทึกต่างๆให้เหมาะสมกับการเข้ารับบริการเช่น 
OPD Card –  ควรเป็นของผู้ป่วยนอก  - กายภาพบำบัด – แพทย์แผนไทย
OPD PP Card ของฝ่ายส่งเสริม  ก็ควรแยกออกแบบเป็น  ANC  EPI   WBC  ออกแบบให้สามารถเอาข้อมูลจาก   HOSxP ลงในแบบบันทึก
OPD  Dent  - งานทันตกรรม  ลงให้ครบทั้งงานรักษาและทันตกรรมป้องกัน

      Feature ที่มีมาให้แสนธรรมดา ดูจากหน้า URL ที่ถูกเชื่อมโยงมาจากระบบสารสนเทศ HOSxP  โดยตรง  บางทีมันเกิดอาการ  อยากรู้เพิ่มเติมเยอะ

                ผู้ป่วยนอก  แสดงผลตามวันเวลาและแผนกที่มารับบริการ  เป็น  Jpeg  และ  Text view  ซึ่งถูกนำออกมาแสดงผลจากข้อมูลที่บันทึกใน  HOSxP  เห็นอะไรมั๊ยครับ   การเขียนเพิ่มเติมมันจะไม่ถูกบันทึกลงใน  HOSxP  เพราะผู้ให้บริการไม่ต้องการลงซ้ำซ้อน  ใครจะลงให้เอาไปลงเอง...ว่าเข้าไปนั่น  สุดท้ายสิ่งที่จะเป็นผลต่อเนื่องมาก็คือ  การบันทึกลูกหนี้ค่ารักษาพยาบาลตลอดจนการส่งเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ก็ไม่ถูกต้อง  ส่งผลระยะต่อมา(ไม่ใช่ระยะยาว) คือ  งบทดรองเกณฑ์คงค้าง  ของงานการเงินและบัญชีไม่ถูกต้อง...ถูกปรับลดระดับความถูกต้องทางการเงินลง  ถูกลดเงินรายหัวลง  ถูกตำหนิ  ...............มาจากไหนทราบกันรึยังครับ

                ตามภาพครับ  แบบบันทึกที่มีในระบบบริการของโรงพยาบาล  มันเป็นศิลปะที่มาจากผู้มีอาชีพประกอบโรคศิลป์จึงต้องมีการเขียน   การวาดและการคอมเมนท์  ซึ่งคอมพิวเตอร์ตอบสนองได้ไม่หมด  เฮ้อเพลียจิต   เอาไงก็เอาครับ
             ภาพนี้ตอบคำถามงานทันตกรรมไปได้เกือบหมดครับ...เหลือเพียงแต่อยากได้ประวัติเก่าจากที่บันทึกไว้ตั้งแต่ในอดีตที่ต่ั้งโรงพยาบาลมา....โถพ่อคุณ


                การค้นคืนเอกสารการนอนโรงพยาบาล  เป็นอะไรที่ทำให้ผู้ให้บริการ (เวชระเบียน) ปวดกระบาลได้ง่าย   เพราะยืมไปแล้วต้องตามเก็บเองนะ  หายแล้วไม่รู้ใครเอาไป  ใครยืมไปทำ อวช. เอาไปแล้วไปเลยกลัวหายเลยเก็บไว้ให้...ดูมีเหตุผลดีนะครับ  บางรายแพทย์นัดมาหลังจากออกจากโรงพยาบาล   Chart  กลับมาบ้าง  ไม่กลับมาบ้าง  แพทย์ไม่สรุปบ้าง   คนยืมไปดูบ้าง....แพทย์ขอดู Chart  admit  เอางัยละครับไม่เห็นไม่ได้ตรวจ   งานเข้าละครับเล่นเอาวุ่นไปทั้งเวรละครับ  ....เอางัยดีครับ  ดำเนินการทันทีเมื่อแพทย์สรุปให้รีบมา Scan  ให้เร็วแล้วให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อยากดู  อยากได้   อยากเอา  จัดการเอาเองเลยครับตามสะดวก  555.......ตั้งแต่นั้นมาไม่ค่อยมีคนถามขอเอาแฟ้มเดิม (หลังจาก D/C  แล้วประมาณ  2  สัปดาห์)...ค่อยรู้สึกได้ยินอะไรชัด   ไม่ค่อยมีคนบ่นให้ฟัง  ที่บ่นให้ฟังเช่น  มันเปิดดูเหมือนเปิดอ่านใน Smart  Phone  ไม่ได้เหรอ....เฮ้อ  เพลียประสาท


มีคำถามต่อเนื่องครับ
1.       กรณีผู้รับบริการมีเอกสารอื่นๆขณะที่มารับบริการ  อยากให้มีใน  Smart Document(อันนี้ผมตั้งชื่อเอง)  เช่น  กระดาษ  EKG  -NST – ใบสังเกตอาการ ER – ใบ Refer – ใบประเมินการนำส่งผู้ป่วยเป็นต้น....สรุปว่ามา 1 ครั้งมีเอกสารแนบ 3 แผ่นให้มีเอกสารสแกนครบทุกแผ่นดูได้ครบทุกแผ่น
2.       กรณี OPD  Card  ไม่มาถึงห้องบัตร ทำอย่างไร
3.       การรับกลับเข้าห้องเก็บเวชระเบียนทำอย่างไร
4.       การจัดเก็บทำอย่างไร (เก็บใส่แฟ้มเดิม – แยกเก็บ)
5.       ประวัติเก่าทำอย่างไร


รอคำตอบในครั้งถัดไป........คำถามที่ต้องการคำตอบต้องลงทุนนะครับ  ทั้งคนและเครื่องมือไม่พอ  โปรดติดตามตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น