วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ไม่มีเวชระเบียน OK มั๊ย


    ตั้งคำถามตั้งแต่ไก่โห่ครับ   ไม่มีเวชระเบียนได้มั๊ย  ถ้าไม่พิมพ์ OPD Card ค่าใช้จ่ายน่าจะลดเยอะเลยนะลองพิจารณาดู  จะนำเอาเป็นวาระของจังหวัดละกัน....โห

ตัวอย่างตามภาพหายวับไปกับตามนะครับ..หาไม่เจอเลยนะ
      ยกตัวอย่าง   การเขียนเพิ่มเติมเช่น คอมเมนต์กรณีปรับเปลี่ยนการกิน  เหตุผลการเปลี่ยน  อธิบายบาดแผล การประเมิน Coma  score  Pain Score เป็นต้น  กรณีเช่นนี้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความยุ่งยากซับซ้อนเพราะต้องบันทึกในหลายที่  หลายแบบฟอร์ม  สุดท้ายก็...ลืม   (ตัวอย่างเป็น OPD Card คนละท่อนกันครับสิทธิควรเป็น พรบ.)

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ลดค่าใช้จ่าย..ลองดูนะง่ายนิดเดียว

ลดค่าใช้จ่ายเรื่องแบบฟอร์มที่เกิดจากการให้บริการในโรงพยาบาล  

        ลองนึกย้อนหลังไปซักประมาณปี 2544  ที่มีการเริ่มโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)  โรงพยาบาลเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลใส่แบบฟอร์มต่างๆ เยอะมาก พอมาถึงการต้องส่งเบิกชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ Claim ประเภทต่างๆเอกสารมาอีกกระบุง ลองนึกแค่แผนกผู้ป่วยนอกอย่างเดียวนะครับ
         เริ่มตั้งแต่การเดินเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลได้อะไรบ้าง  บัตรคิว (เขียนเองก็มี  พิมพ์จากเครื่องก็มี)   ใบตรวจสอบสิทธิ (บางที่ไม่มีเอกสารนี้จ่ายเงิน)
         ถึงห้องแพทย์ได้รับแบบฟอร์มใบสั่งยา   ใบบันทึกเวชระเบียน
         ถึงห้องการเงิน  ได้รับใบแสดงรายการกรณีโครงการจ่ายตรง
        ถึงห้องยา  ได้รับใบแสดงเหตุผลการขอใช้ยานอกบัญชียาหลัก  พ่วงท้ายด้วยใบรายงานผลชันสูตร  เป็นต้น  เดินไปเดินมาได้แบบฟอร์มเกือบ 7 ฉบับ.....ถือไปทำไมเนี๊ยะ




Scan เวชระเบียน ฉบับทำเอง

รูปแบบการนำเสนอผลงาน
1.       ชื่อผลงาน     ระบบเวชระเบียน (Smart Document V1.57.7.1.)
2.       ชื่อหน่วยงาน  โรงพยาบาลภูกระดึง
3.         เจ้าของผลงาน    โรงพยาบาลภูกระดึง   อำเภอภูกระดึง  จังหวัดเลย  โทร 042-871016-7  ต่อ  109  Email : phukraduenghospital@gmail.com
4.       ความเป็นมา / บทนำ
การบริการเวชระเบียน ซึ่งประกอบด้วย การค้นคืนแฟ้ม  การเก็บรักษา  การยืมเวชระเบียน มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการให้บริการของสถานพยาบาล ทั้งพบว่าความเสี่ยงที่เกิดจากการให้บริการเช่น ให้บริการเวชระเบียนไม่พบในระยะเวลาที่ประกันไว้  เวชระเบียนสูญหาย  เวชระเบียนหาไม่พบ  เวชระเบียนไม่กลับคืนห้องเก็บเวชระเบียน ความลับของผู้ป่วย/ผู้รับบริการถูกเปิดเผย  เป็นต้น   งานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์จึงได้พัฒนาระบบการจัดเก็บและให้บริการเวชระเบียนแบบออนไลน์  เพื่อตอบสนองการให้บริการเวชระเบียนแก่ผู้ให้บริการและหน่วยงานในโรงพยาบาล อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเวชระเบียนพร้อมกันในหลายหน่วยงาน  ทั้งนี้สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยเวชระเบียน  ลดความเสี่ยงด้านต่างๆของเวชระเบียน 




5.       วัตถุประสงค์การพัฒนา
5.1.     เพิ่มศักยภาพในการบริการเวชระเบียนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.2.     ลดความเสี่ยงในการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย

6.       แนวคิดและหลักการของระบบหรือการพัฒนา
ปัจจุบันการรับบริการในโรงพยาบาล จำเป็นต้องมีเวชระเบียนผู้ป่วยเพื่อเป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ให้บริการด้วยกันเอง  ดังนั้น การลดภาระของการบริการเวชระเบียนผู้ป่วย (การค้นคืนแฟ้ม) จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้เร็วขึ้น  ลดความเสี่ยงเรื่องเวชระเบียนสูญหาย  การรักษาความลับของผู้ป่วยและผู้รับบริการ

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2557

รับกลับบัตรตรวจโรคโดยใช้โปรแกรมสแกน

จากคาถามต่อเนื่องครับ

3. การรับกลับเข้าห้องเก็บเวชระเบียนทำอย่างไร (มีคำตอบให้ครับ...ว่าทำได้)
             ปกติการรับกลับเข้าในระบบ HOSxP มีหลายอย่างครับ เช่น
     -  รับกลับผ่านห้องเวชระเบียน (บันทึกรับเวชระเบียนกลับ ซึ่งทางานยากมาก..ทำงานได้ทีละคน)
















รับผ่านเมนู-บันทึกผลการวินิจฉัย


วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Smart Document โดยทีมโรงพยาบาลภูกระดึง

ระบบจัดเก็บเอกสารผู้ป่วยนอก – ผู้ป่วยใน
   
          ก่อนเริ่มที่ระบบจัดเก็บและแสดงผล  Document  Scan  แบบบันทึกการให้บริการผู้ป่วยนอกถูกออกแบบให้มีกระดาษที่ผู้รับบริการต้องได้รับอย่างน้อย  2  ชิ้นประกอบด้วย  1.บัตรคิวหรือผนวกใบนำทางมาด้วย    2.แบบ OPD Card  3. ใบสั่งยา     4. เอกสารอื่นๆที่ได้เพิ่มเติมจากการบริการเช่น  EKG  -  แบบบันทึกของแพทย์แผนไทย  -  แบบบันทึกความจำเป็นกรณีได้รับยานอกบัญชียาหลัก  และอื่นๆ